Biten Chocolate Bar

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกครั้งที่11

บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                                     วัน/เดือน/ปี   5 มกราคม 2557     ครั้งที่ 11                                       
        เวลาเข้าสอน  - น.    เวลาเรียน 08.30 น.
    เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน 

หมายเหตุ : อาจารย์มีธุระ

บันทึกครั้งที่10

 บันทึกอนุทิน
   วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
            อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                วัน/เดือน/ปี  26 มกราคม   2557      ครั้งที่ 10                                       
  เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
      เวลาเลิกเรียน   12.20 น.
 


วันนี้อาจารย์ให้เขียนแผนการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ กลุ่มละ5คน



บรรยายกาศในห้อง



ของกลุ่มหนูคะ  





การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ 
- ได้รู้ถึงการเขียนแผนการสอนที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้
- สามารถคิดหากิจกรรมใหม่ๆที่สามารถสอดคล้องกับกิจกรรมได้
- สามารถคิดถึงกิจกรรมต่างๆแล้วนำมาเปลี่ยบว่ากิจกรรมอันไหนต้องสอนวันไหน และ เนื้อหาความรู้ได้อะไรบ้าง

บันทึกครั้งที่9

บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                        วัน/เดือน/ปี  22 มกราคม  2557      ครั้งที่ 9                                
         เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
   เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้ให้ผลิตสื่อทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับพีชคณิตกลุ่มของพวกหนูก็ได้ระดม ความคิดกันเรื่องพีชคณิต

พีชคณิตคืออะไร  ??

พีชคณิตคือ  คณิตศาสตร์ที่ใช้สัญลักษณ์มาศึกษาการจำเเนกประเภท คุณสมบัติ จำนวน ความสัมพันธ์ต่างๆ

กลุ่มของพวกหนูก็เลยทำเป็นรูปบอลลูน


สิ่งที่ได้รับ
-สามารถนำไปสอนเด็กในเรื่องของการแยกสีและการเปรียบเทียบความแตกต่างของสิ่งของได้
-เด็กเรียนรู้พีชคณิตผ่านการทำผลงานทางด้านศิลปะ
-เด็กได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต
-มีรู้จักใช้จินตนาการ  ความคิดสร้างสรรค์
-เด็กรู้จักคิดริเริ่ม

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่8

    บันทึกอนุทิน
                                 วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิ่น
                                วัน/เดือน/ปี   15  มกราคม  2557      ครั้งที่ 8                         
          เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
              เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


 วันนี้ทำกิจกรรมนิทานเล่มใหญ่  (Big Book)  อาจารย์และนักศึกษาช่วยกันแต่งนิทานร่วมกัน แล้วนำมาแบ่งเป็นหน้า และทำฉลากเพื่อเลือกหน้าเนื้อเรื่องของนิทานว่า ใครจะได้ทำหัวหน้าไหน  ตอนไหน ของนิทาน   เปิดเพลงสบายชิวๆอาจารย์เดินดูนักศึกษาทำงาน วันนี้เรียนแบบสบายและสนุกกับการคิดจิตนาการ 
ช่วยกันแต่ง
                                                             นิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน

          กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม   ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า  หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก   หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน  หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า  ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า   หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน  แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน  และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป
  มีอุปกรณ์ดังนี้คะ
 
กระดาษแข็งสีขาว 1แผ่น
สีไม้ เมจิก 
กรรไกร
กระดาษรูปวงกลม รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลียม
กวา


มาทำกันเลยยยย....








เสร็จแล้วคะ

ภาพบรรกาศผ่ายในห้องเรียน






ผลงานของเพื่อนๆ 







แต่ละกลุ่มก็ออกไปเล่านิทานตามหน้าที่กลุ่มของตนเองได้คะ




การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ
- ด้านภาษา เด็กได้พูดได้เล่าเป็นประโยค เพื่อให่้เด็กได้พัฒนาด้านภาษาได้ต่อเนื่อง
- รู้จักการเชื่อประโยคให้ต่อกัน
- รู้จักคิดผ่านการจินตนาการ ช่วยกระตุ้นให้เด็กคิดได้ตลอดเวลา
- รู้จักรูปทรงต่างๆในเรขาคณิต
- ได้รู้จักปรับตัวในการเข้าสังคม
- ฝึกการนับตัวเลข

บันทึกครั้งที่7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   8 มกราคม  2557      ครั้งที่ 7
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.
           เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

  วันนี้ได้พบเจอกับอาจารย์และเพื่อนๆ  ทุกคนสดชื่่นแจ่มใส  ร่าเริง เพราะพึ่งผ่านการสอบกลางภาคมา วันนี้อาจารย์สอน เรื่อง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ??

                                              กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย 

       เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
-จำนวนและการดำเนินการ
-การวัด
-เรขาคณิต
-การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

เมื่อเด็กจบอนุบาล 1-3 จะได้อะไรบ้างจากวิชาคณิตศาสตร์.......?
1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าจำนวนนับ
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร  เงิน เวลา
-เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา  เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ขึ้นไป

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

                                                           สาระมาตรฐานและการเรียนรู้

      สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ

    -มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง

      จำนวน , การรวมและการแยกกลุ่ม

สาระที่ 2 การวัด

  -มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

                                               ความยาว  น้ำหนักและ ปริมาตร 

-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

                                                                เงิน 
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร เช่น เด็กอนุบาลจะบอกได้ว่า ค่าของเงินไหนมากกว่า เงินไหนน้อยกว่า 5 บาท น้อยกว่า 10 ซื้อของได้แค่ 2 บาท 3 บาท 4บาท ถึง5 บาท ซื้อมากกว่านั้นไม่ได้แล้ว

 * เด็กปฐมวัยจะไม่มีการวัดเป็นหน่วย เซนติเมตร  มิลลิเมตร หรือ หน่วยต่างมาใช้ในการสอน แต่จะสอนโดยการนำสิ่งของรอบตัวมาวัดหรือใช้อวัยวะร่างกายมาวัด เช่น ช่วงก้าวของขา หรือ ความยาวของแขน  ที่สามารถใช้วัดสิ่งของแทนได้

                                                            เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน

สาระที่ 3 เรขาคณิต

 -มาตรฐาน ค.ป. 3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
 -มาตรฐาน ค.ป. 3.2  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

                           ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

-การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้  ซ้าย ขวา  ข้างนอก ข้างบน  ตรงนี้ ตรงนั้น   เป็นต้น

                                                    รูปเรขาคณิต

-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก
-วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ

รูปเรขาคณิตสองมิติ คือ   วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
รูปเรขาคณิตสามมิติ คือ    ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก

**เด็กเรียนรู้จาก 3 มิติ ก่อน 2 มิติ เพราะ 3 มิติ เป็นของจริง จับต้องได้ เช่น ลูกบอล 

สาระที่ 4  พีชคณิต

                  -มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

  แบบรูปและความสัมพันธ์

-แบบรูปของรูปที่มี  รูปร่าง ขนาด หรือ สีที่สัมพันธ์กัน
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

            -มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ
จากภาพจะเห็นได้ว่าเป็นตารางที่เด็กได้บันทึกอากาศประจำเดือน โดยเด็ก แต่ละคนภายในห้องจะรับผิดชอบร่วมกัน  เช่น วันจันทร์ที่ 1 เดือน สิงหาคม  มีอากาศร้อน เด็กก็จะวาดรูปพระอาทิตย์ไว้ตรงช่อง วันจันทร์ที่ 1 เดือน สิงหาคม   พร้อมกับเขียนชื่อ ของตัวเองไว้

          -    สาระที่ 6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

   การแก้ปัญหา  การใช่เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   เช่น  การสอดแทรกความรู้ให้กับเด็ก คือ เด็กเล่นบล็อกครูจะสอดแทรกการนับ รูปทรง เข้าไปในการถามเด็ก  เช่น หนูทำอะไรคะ บล็อกที่ว่ามีกี่อัน เด็กจะนับแล้วบอกครู
             
  หลังจากนั้นอาจารย์ ก็ให้ทำงานชิ้นหนึ่ง โดยมีแผ่น รูปวงกลม  รูปสีเหลี่ยม  รูปสามเหลี่ยม มา  แล้วให้เด็กๆเลือกรูปที่ตนเองชอบมา ทาบกับกระดาษสีแล้วตัด  พอตัดเสร็จแล้วก็ติดกาวเเปะกับกระดาษ  A4 แล้วทำรูป สัตว์ที่ตัวเองต้องการทำ

อุปกรณ์ที่จะต้องทำ

การนำไปใช้/ ประโยชน์ที่ได้รับ

- รับรู้ถึง กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย เพื่อจะได้จัดการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง

- เด็กได้ฝึกการทำรูปทรงต่างๆให้เกิดประโยชน์และความคิดใหม่ๆ

- เด็กได้เปรียบเทียบตัวสัตว์กับเพื่อน เช่น หน้ากลม หน้าสามเหลี่ยม ตัวกลม ตัวสามเหลี่ยม  เป็นต้น

- เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ในการทำผลงาน

- สามารถนำสื่อต่างๆ มาสอนเด็กได้ เช่น  รูปภาพ สัญลักษณ์ เครื่องหมาย